วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความหมายของสินเชื่อเพื่อการพาณิยช์


              

         สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์หรือสินเชื่อการค้า โดยทั่วไปเป็นสินเชื่อเพื่อการซื้อขายสินค้าประเภทวัตถุดิบ หรือการซื้อสินค้ามาจำหน่ายต่อ เป็นการรับสินค้ามาก่อน แล้วค่อยชำระค่าสินค้าภายหลังโดยทั่วไปจะเป็นสินเชื่อระยะสั้น เช่น 30-60 วัน เป็นสินเชื่อที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่การทำธุรกิจ ทั้งนี้รวมไปถึงการออก Letter of Credit เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยงในการชำระค่าสินค้าจากการซื้อขายระหว่างประเทศด้วย





สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์

สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการทั่วไป  เพื่อนำเงินไปลงทุนในกิจการ เพื่อซื้อทรัพย์สิน หรือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

ประเภทวงเงิน

1. วงเงินกู้ระยะยาว ( Term Loan Facility ) เป็นเงินกู้ที่มีระยะเวลาการชำระคืนเกิน 1 ปีขึ้นไป สามารถชำระคืนเงินต้นเป็นรายเดือน รายไตรมาสหรือรายปี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และความเหมาะสมของธุรกิจเป็นเงินกู้เพื่อรองรับการลงทุนระยะยาว
2. วงเงินกู้ยืมระยะสั้น ( Working Capital Facility) เป็นวงเงินสินเชื่อระยะสั้น เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจของลูกค้า สามารถเบิกใช้วงเงินกู้ได้ตามความจำเป็น และตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน  และสามารถชำระคืนเงินกู้ได้ตามความต้องการ
3. การอาวัล  หรือ ค้ำประกัน ( Aval / Guarantees)  เป็นบริการเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าของกิจการ โดยการรับอาวัลหรือค้ำประกันเพื่อรองรับการชำระเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเพื่อยืนยันจากการจัดซื้อจัดจ้าง

หลักประกัน 

1.อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท
2.หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
3.โรงงาน /เครื่องจักร
4.เงินฝาก / หุ้น

คุณสมบัติผู้กู้

1.นิติบุคคล ที่จดทะเบียนในประเทศไทย
2.บุคคลธรรมดา ที่ประกอบธุรกิจที่มีหลักแหล่งแน่นอน
เอกสารประกอบการขอสินเชื่อบื้องต้น

Ø กรณีขอกู้ในนามนิติบุคคล

 1.หนังสือแสดงตนเพื่อการรู้จักลูกค้า (KYC)
2.สำเนาหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน / บริษัทหนังสือบริคณห์สนธิ และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
3.สำเนารายการเดินบัญชี (Statement) กับสถาบันการเงิน
4.งบการเงินปีล่าสุด
5.ข้อมูลเอกสารหลักประกัน
6.ประวัติความเป็นมาของบริษัท และ ประวัติของผู้บริหาร
7.รายละเอียดความเป็นมาของกิจการ และแผนธุรกิจ
8.เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี

Ø กรณีขอกู้ในนามบุคคลธรรมดา

1.หนังสือแสดงตนเพื่อการรู้จักลูกค้า (KYC)
2.สำเนาบัตรประชาชน
3.สำเนาทะเบียนบ้าน
4.สำเนาทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า
5.เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล (ถ้ามี)
6.สำเนารายการเดินบัญชี ( Statement ) กับสถาบันการเงิน
7.ข้อมูลเอกสารหลักประกัน
              8.เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี



6 เคล็ดลับ SME เตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อ